วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ครั้งหนึ่งเมื่อวันวาน การศึกษาที่เคยไม่หยุดนิ่ง


Theerawatpol Laorujiralai

                                          

                                            Political Behavior of Population in Songpeenong
Municipality, Suphanburi Province.

Theerawatpol Laorujiralai

The purposes of this study were to examine political behavior of population in Songpeenong Municipality, Suphanburi Province, and to compare the different political behavior of population in Songpeenong Municipality, Suphanburi Province according to different personal factors.  The samples were composed of 400 individuals who were eligible for election. All of them were 18 years old and over who resided in Songpeenong Municipality, Suphanburi Province. Data were collected by a questionnaire and analyzed by using a statistical software. Statistical tools used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA, with statistical level of significance at 0.05

The results of this study showed that the political behavior of population in Songpeenong Municipality, Suphanburi Province was at a moderate level      ( = 2.36). When each aspect was considered, it was found that voting for election, and following political news and updates, were also at a moderate level       ( = 3.18, 2.73, respectively). However, expressing political opinions, being involved in the political activities, and contacting with politicians were found to be at a low level ( = 2.23, 2.09, 1.74, respectively). Moreover, the hypothesis testing indicated that gender and age did not significantly influence their political behaviors. On the other hand, the educational level, type of career, and income significantly affected their political behaviors.
Key word: political behaviors


































พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี

ธีรวัตพล  เลารุจิราลัย

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ในเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ One-Way ANOVA โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.36) เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า     ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.18, 2.73 ตามลำดับ) ส่วนด้านการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมือง ด้าน    การมีส่วนร่วมทางการเมือง และด้านการติดต่อสัมพันธ์กับนักการเมือง อยู่ในระดับน้อย        ( = 2.23, 2.09 และ 1.74 ตามลำดับ) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลอันได้แก่ เพศ และอายุ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการทางการเมืองไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการทางการเมือง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ พฤติกรรมทางการเมือง






วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความวิเคราะห์การเมืองในประเทศและวิกฤตเศรษฐกิจโลก










    ประเทศไทยได้ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาเป็นระยะเวลาถึง 79 ปี นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน


ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองที่ยอมรับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างทั่วถึง และมีกลไก ในการป้องกันการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ ทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ซึ่งการแสดงออกถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้น สามารถ กระทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทุกสังคม


ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญมรสุม ทั้งการเมืองในประเทศและวิกฤตเศรษฐกิจโลก การที่รัฐบาลต้องมุ่งแก้ไขปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้า ทำให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อเป้าหมายระยะยาวคืบหน้าไปค่อนข้างช้า จนท้ายที่สุดเพื่อลดภาวะความตรึงเครียดและสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงแถลงข่าวประกาศยุบสภา หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา และรัฐบาลจะนำพระราชกฤษฎีกายุบสภาประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งถือว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสิ้นสุดลงของวาระของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ทุกฝ่ายต่างเชื่อว่าการยุบสภาฯครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการเริ่มต้นการเดินหน้าประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของพี่น้องประชาชน และครอบครัว อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ภายใต้กระบวนการของประชาธิปไตย การที่รัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ด้วยความหวังว่า พี่น้องประชาชนจะได้ใช้โอกาสที่สำคัญนี้ในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้า และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ยังคงค้างอยู่


ฉะนั้น ความหวังทั้งมวลจึงฝากไว้กับการเลือกตั้งใหม่ที่จะมีขึ้นครั้งนี้ โดยสำหรับประชาชนทุกภาคส่วนที่มีความรักชาติ และนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ ต่างหวังว่าเรื่องความขัดแย้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญจะจบลง แต่สำหรับผมคิดว่าคง “ไม่จบ” เพราะม็อบต่างๆ จะตามมาทั้งเหลืองแดงเขียว และสีต่างๆ เนื่องจากเราไม่เคารพกติกาไม่ยอมรับในผลการเลือกตั้ง และในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคข้างมากจะได้เป็นรัฐบาล เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ในกติกาตามรัฐธรรมนูญระบุแค่ว่า ขอให้มีสส.เกินกึ่งหนึ่งยกมือให้ โดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นพรรคไหนที่จะยกมือให้ คนที่ได้รับการโหวตก็เป็นรัฐบาล เป็นนายกรัฐมนตรีได้


แต่ถึงอย่างไร ประเทศยังคงต้องเดินหน้า และต้องเดินหน้าไปอย่างมั่นคง หน้าตาของคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่จะเป็นอย่างไรก็ตาม หากแต่สามารถเข้ามาบริหารจัดการให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นและเร็วขึ้น ตลอดจนการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เร่งสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน จะยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซา กลับฟื้นคืนและเกิดการขยายตัว


ในอนาคตไทยจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ซึ่งการเปิดเสรีทางการค้าจะทำให้การแข่งขันของธุรกิจไทยมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมุ่งให้ความสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวมากขึ้น โดยเฉพาะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและแรงงานไทย รวมทั้งการผลักดันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น ระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงทั้งภายในประเทศในภูมิภาค และรองรับการขยายตัวของการขนส่งระหว่างประเทศ พลังงาน โทรคมนาคม การศึกษา สาธารณสุข ทรัพยากรน้ำ รวมถึงโครงสร้างการผลิตและราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น


สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ รัฐอาจต้องมีการลดภาษีหรือเพิ่มสิทธิประโยชน์บางประการเพื่อลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ ซึ่งน่าจะชดเชยกับต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นได้ วิธีการนี้ไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกราคา และกระตุ้นให้ธุรกิจตื่นตัวในการปรับพฤติกรรมเพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้มาตรการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการช่วยเหลือตรงไปที่กลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยโดยตรง และได้ผลมากกว่าแนวทางอุดหนุนราคาที่ผู้ได้รับประโยชน์อาจมีกลุ่มผู้มีรายได้สูงด้วย


ดังนั้น การที่จะเห็นรูปการเมืองการปกครองไทยพัฒนาไปสู่รูปแบบความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หากประชาชนมีความตื่นตัวและมีความสำนึกทางการเมืองสามารถใช้วิจารณญาณทางการเมืองได้ถูกต้อง สนใจที่จะใช้สิทธิทางการเมืองลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเลือกผู้แทนราษฎรที่ดีเข้าสู่สภา บทบาท และพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน นักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ก็จะต้องพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศชาติได้ ทำให้ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแพร่หลายขึ้นและเมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีเสถียรภาพมั่นคงอยู่คู่กับการปกครองไทยตลอดไป